Maecenas tristique.
Duis ultricies pharetra magna. Donec accumsan malesuada orci. Donec
→  อ่านรายละเอียด  
 
 

Maecenas tristique.
Duis ultricies pharetra magna. Donec accumsan malesuada orci. Donec
→  อ่านรายละเอียด  
  กระดูกสันหลังหักจากอุบุติเหตุต้องทำอย่างไร?   

 

 
           
            คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรมากนัก ว่าถ้ากระดูกสันหลังหักส่วนมากมักจะเกิดจากอุบัติเหตุ โดยที่ไม่ได้ตั้งใจเสมอ ถ้าเรามองว่ากระดูกสันหักร้ายแรงไหม แน่นอนครับ ถึงขั้นร้ายแรงเลยทีเดียว


           อาการ เมื่อกระดูกสันหลังหัก หรือแม้แต่ข้อต่อกระดูกสันหลังเคลื่อน ไขสันหลังจะถูกกดหรือ ถูกตัดขาด เป็นผลทำให้เกิดอัมพาตและหมดความรู้สึกของเส้นประสาทต่างๆ ที่อยู่ต่ำกว่าระดับ ไขสันหลัง ที่ได้รับอันตรายลงมา ถ้ากระดูกสันหลังหักที่คอ แขนและขาของผู้ป่วยจะเป็นอัมพาตและหมดความรู้สึก ชาไปทั้งตัว ยกเว้นศีรษะเท่านั้น ผู้ป่วยอาจหยุดหายใจ เพราะกล้ามเนื้อทรวงอกและกะบังลม หยุดทำงาน เพราะเป็นอัมพาต ถ้ากระดูกสันหลังหักที่หลัง ขาทั้งสองข้างของผู้ป่วยจะชาและเป็นอัมพาต อันตรายมาก เลยนะครับ สิ่งที่เราควรระวังเป็นพิเศษ เมื่อเจอผู้ป่วยที่เกิดอาการทางกระดูกสันหลัง ต้องทำอย่างไรบ้าง เมื่อไม่มีผู้เชื่อชาญในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ หากต้องการย้ายผู้ป่วยออกจากจุดที่เกิดเหตุที่มี ความอันตรายสุง

           การช่วยเหลือผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักที่คอ ให้ผู้ป่วยนอนรอบโดยมีศีรษะอยู่นิ่งและจัดให้เป็นแนวตรงกับลำตัวโดยใช้หมอนหรือของแข็งๆ ขนาบศีรษะข้างหูทั้งสองด้าน ถ้าผู้ป่วยประสบเหตุขณะขับรถยนต์อยู่ ก่อนเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังส่วนคอหักออกจากที่นั่งในรถ ผู้ช่วยเหลือควรให้ผู้ป่วยนั่งพิงแผ่นไม้กระดานที่มีระดับสูงจากสะโพกขึ้นไปจนเหนือศีรษะ ใช้เชือก หรือผ้ามัดศีรษะและลำตัวของผู้ป่วยให้ติดแน่นกับแผ่นไม้ไม่ให้ขยับเขยื้อนเป็นเปลาะๆ แล้วจึงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกมา

           ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ผู้ช่วยเหลือควรรีบผายปอดด้วยวิธีเป่าลมเข้าปาก หากต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น นำส่งโรงพยาบาลควรหาผู้ช่วยเหลืออย่างน้อย ๔ คน ให้ผู้ช่วยเหลือยกผู้ป่วยขึ้นจากพื้นพร้อมๆ กัน ให้ศีรษะและลำตัวเป็นแนวตรง ไม่ให้คองอเป็นอันขาด แล้วจึงวางผู้ป่วยลงบนแผ่นกระดาน หรือเปลพยาบาลต่อไป

           การช่วยเหลือผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักที่หลัง ให้ผู้ป่วยนอนราบอยู่บนพื้น ไม่ให้เคลื่อนไหว หาผู้ช่วยเหลือ ๓-๔ คน และแผ่นกระดานขนาดยาวเท่าผู้ป่วย เช่น บานประตู หรือเปลพยาบาล ค่อยๆ เคลื่อนตัวผู้ป่วยในท่าแนวตรงทั้งศีรษะและลำตัว ไม่ให้หลังงอเป็นอันขาด วางผู้ป่วยลงบนไม้กระดาน หรือบนเปลพยาบาล ใช้ผ้ารัดตัวผู้ป่วยให้ติดกับแผ่นกระดานเป็นเปลาะๆ ไม่ให้เคลื่อนไปมา แล้วจึงนำส่งแพทย์ แต่ทางที่ดีแล้วการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ถูกต้องที่สุด คือให้เจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกหารอบรมหลักสูตรการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมาเป็นผู้ย้ายเนื่องจาก จะทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยมากที่สุด

หากท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์โรคปวดหลังโรงพยาบาลลานนา โทร. 053-999-777

  บทความเพื่อสุขภาพ  
 
 

 

 
Share |
designed by Lanna Hospital
   ไทย  | อังกฤษ